ศูนย์อนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวรของโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล
จัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่ออนุรักษ์ไก่ชนนเรศวร
2. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้คุณค่าความสำคัญและรู้จักวิธีอนุรักษ์ไก่ชนนเรศวร
3. เพื่อสร้างรายได้ในระหว่างเรียนของเด็กนักเรียนเพื่อนำไปประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
4. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน
การอนุรักษ์ไก่ชนนเรศวรให้แก่หน่วยงานและบุคคลทั่วไป
โรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ตั้งอยู่เลขที่ 78 หมู่ 3 ต.มะขามสูง อ.เมือง จ.พิษณุโลก เป็นโรงเรียนตั้งขึ้นมาเพื่อรับนักเรียน
ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญา
ให้ได้รับการศึกษา เพื่ออยู่ร่วมกับสังคมได้เหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป เปิดการเรียนการสอนระดับตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่
6 มีนักเรียนทั้งประเภทอยู่ประจำและไป-กลับ
โรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล มีผู้อำนวยการบริหารโรงเรียน คือ
อาจารย์ศักดา เรืองเดช ท่านอาจารย์ศักดา
เป็นผู้บริหารที่มีผลงานดีเด่นอย่างมากมาย มีการเปิดการสอนวิชาอาชีพ “28 ทักษะอาชีพ” เพื่อให้เด็กพิการได้เลือกเรียนตามความถนัด
และเหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช สอนเรื่องการปลูกไม้ผล
ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชสวนครัวรั้วกินได้
เป็นไปตามโครงการตามพระราชดำริ มีการสอนวิชาชีพช่างตัดผม ดอกไม้ประดิษฐ์ สอนการทำอาหาร
ทำขนม และมีรถขายกาแฟสากลประดับอย่างสวยงามเคลื่อนที่ไปขายตามงานต่าง ๆ
มีศูนย์อนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวร และการเพ็นสีรูปไก่ชนนเรศวร เพื่อจำหน่าย
สร้างชื่อเสียงโด่งดังให้โรงเรียนไปทั่วประเทศ และต่างประเทศ จึงทำให้อาจารย์ศักดา เรืองเดช ได้รับรางวัลดีเด่นระดับชาติหลายรางวัลรวมทั้งได้รับรางวัลจากต่างประเทศด้วย
อาจารย์ศักดา เรืองเดช เริ่มสนใจการเลี้ยงไก่ชนพระนเรศวรเมื่อปี พ.ศ.2539 ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล
ได้มีโอกาสไปชมการประกวดไก่ชนพระนเรศวรไก่เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง
รู้สึกประทับใจในความสง่างามของไก่เหลืองหางขาว จึงไปหาซื้อลูกไก่ของคุณราเมศ มนต์ธรรม
กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวรตำบลหัวรอ มาพัฒนาสายพันธุ์
ประกอบกับอาจารย์ศักดา
จบการศึกษาด้านเกษตรศาสตร์
จึงมีความรู้เรื่องการผสมพันธุ์ไก่ชนเหลืองหางขาว ให้ได้ลักษณะถูกต้องตามตำราและได้ส่งไก่เข้าประกวดทุกครั้ง “ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
นี่เป็นอุดมการณ์ประจำใจของท่าน
การพัฒนาสายพันธุ์ไก่ชนนเรศวรก็ประสบความสำเร็จอย่างน่าภาคภูมิใจเป็นครั้งแรก
ในงานประกวดไก่ชนนเรศวรงานสงกรานต์จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
ปี พ.ศ.2547
ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์
อาจารย์ศักดา เรืองเดช
ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ปี พ.ศ.2550 ด้วยความเคารพและเทิดทูลองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
และด้วยความรักและหลงใหลในความสง่างามของไก่ชนพระนเรศวร จึงจัดตั้ง “ศูนย์อนุรักษ์ไก่ชนนเรศวร”
ของโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูลขึ้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนพิการฝึกประกอบอาชีพการเลี้ยงไก่ชนนเรศวร
และเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตหลังจากจบการศึกษา
เป็นการให้นักเรียนรู้จักพึ่งตนเอง ไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม
หลังจากก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ไก่ชนนเรศวรขึ้นในโรงเรียน
ทำให้ครูและนักเรียนได้ร่วมการพัฒนาคัดสายพันธุ์โดดเด่นตามแนวทางของอาจารย์ศักดา เรืองเดช
จึงได้ไก่ชนนเรศวรชนะเลิศในการประกวดทุกงาน
ถ้วยรางวัลที่เป็นเกียรติยศสูงสุดที่ทางศุนย์ฯได้รับคือ
1. ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 ถ้วยรางวัล จากงานมหกรรมสัตว์เลี้ยงแห่งประเทศไทย อำเภอสามพราน
จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ.2550 ไก่ชื่อประกายดาว ปี พ.ศ.2552 ไก่ชื่อวังจันทร์
2. ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
งานประเพณีสงกรานต์จังหวัดพิษณุโลก ปี พ.ศ.2551
ไก่ชื่อทองสยาม
3. ถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายาฯ
งานประเพณีตักบาตรเทโว วัดสกัดน้ำมัน ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ปี
พ.ศ.2552 ไก่ชื่อ ปภัสรา ปี พ.ศ.2554
ไก่ชื่อ ธัญญ่า
ศูนย์อนุรักษ์ไก่ชนนเรศวรโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานของนักเรียนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
รวมทั้งผู้สนใจไก่ชนนเรศวรจากทั่วประเทศ
นอกจากนี้ยังมีชาวต่างประเทศมาศึกษาดูงานอีกหลายประเทศ คือ ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น
ภูฐาน คูเวต และบรูไน อาจารย์ศักดา
เรืองเดช เป็นผู้ที่มีความรัก
และจริงจังต่อการเลี้ยงและพัฒนาไก่ชนนเรศวรจนประสพความสำเร็จได้ไก่ชนนเรศวรที่มีลักษณะถูกต้องตามตำรา
และมาตรฐานไก่ชนนเรศวร จึงเป็นผลหนุนนำให้อาจารย์ศักดา เรืองเดช ได้ประสบความสำเร็จในชีวิตรับราชการ
การงานอาชีพ ตลอดจนโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล มีชื่อเสียงโด่งดัง
จึงเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ที่เลี้ยงไก่ชนนเรศวร
หวังว่าผู้ที่รักการเลี้ยงไก่ชนจงช่วยกันหันมาเลี้ยงไก่ชนนเรศวร
และอนุรักษ์ให้สืบสานยืนยาวนานคู่ประเทศไทยตลอดไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น