ในวงการไก่ชนหรือชนไก่
เซียนไก่ชนส่วนใหญ่เชื่อกันว่า
ถ้าทำวัคซีนไก่แล้วนำไก่ไปชนกำลังไก่จะถอยลงหรือพูดง่าย ๆ ว่าหมดแรงไม่มีแรง
จึงไม่นิยมทำวัคซีนไก่ชน และแล้วไก่ชนที่เก่ง ๆ ชนชนะมาหลายไฟล์ก็เป็นโรคตายไปเป็นจำนวนมาก
อาจจะเป็นการเข้าใจผิดหรือเข้าใจถูกก็ได้ที่เชื่อว่าวัคซีนทำให้กำลังไก่ถดถอย
จึงไม่นิยมทำวัคซีนอย่างไรก็ตาม การทำวัคซีนเป็นการป้องกันโรคระบาดที่ดีที่สุด
การทำวัคซีนไม่ได้เสียหายแต่ต้องเลือกทำเวลาที่เหมาะสมกับการชนของไก่ด้วย เช่น
ต้องทำวัคซีนเมื่อมีโรคระบาดในหมู่บ้านใกล้เคียง
เราต้องทำวัคซีนป้องกันโรคไก่ในฟาร์มล่วงหน้า
เพื่อป้องกันโรคระบาดมาติดต่อในฟาร์มเรา
หรือเมื่อต้องการพักชนไก่ระยะยาวก็ต้องทำวัคซีนก่อนพักไก่เพื่อให้ไก่ได้สร้างภูมิคุ้มกันโรค
การรู้จักทำวัคซีนให้เหมาะสมจึงจะเกิดผลดีต่อไก่ชนและผู้เลี้ยงไก่ชนด้วย
ดังนั้นเราควรหาความรู้เรื่องวัคซีน
เพื่อประกอบการเลี้ยงไก่ชนของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด
Via : http://cock-game.blogspot.com/2011_08_01_archive.html
วัคซีนไก่
คือ ผลิตผลที่ประกอบด้วยเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย
ที่ถูกฆ่าหรือทำให้มีฤทธิ์อ่อนลงจนไม่เป็นอันตรายต่อไก่ เพื่อใช้สำหรับฉีดเข้าร่างกายไก่
เป็นการกระตุ้นให้ไก่สร้าง ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อของโรคที่ฉีดเข้าไปนั้น ดังนั้น
ผู้ผลิตวัคซีนจึงต้องคำนวณให้ร่างกายไก่สร้างภูมิคุ้มกันโรคได้หลายเท่าเมื่อเทียบกับเชื้อโรคที่ร่างกายจะได้รับเชื้อโรคที่มีในธรรมชาติ
จึงจะทำให้การทำวัคซีนนั้นได้ผลสำเร็จสามารถป้องกันโรคได้
แต่การทำวัคซีนจะให้ผลดีที่สุดดังที่เราต้องการ
เราต้องศึกษาและต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของการใช้วัคซีนนั้น ๆ ด้วยคือ
ข้อควรปฏิบัติก่อนใช้วัคซีน
1.วัคซีนใช้ป้องกันโรคเท่านั้น
ไม่เป็นยารักษาโรค การทำวัคซีนจึงเป็นการป้องกันโรคให้ไก่ในฟาร์ม
2.
การทำวัคซีนต้องใช้ตามคำแนะนำของแต่ละชนิดวัคซีน
และทำวัคซีนซ้ำเมื่อหมดระยะความคุ้มโรค
3.
ต้องตรวจขวดวัคซีนก่อนนำมาใช้ว่าหมดอายุก็ไม่ควรนำมาทำวัคซีน
หรือสีของวัคซีนเปลี่ยนไป หรือมีสิ่งอื่นเจือปน ต้องถือว่าเป็นวัคซีนเสื่อมคุณภาพ
4.
ไก่ที่ทำวัคซีนต้องมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ไม่ป่วยเป็นโรค
การทำวัคซีน
1. การหยอดจมูกหรือหยอดตา
เช่นวัคซีนนิวคาสเซิลให้จับลูกไก่เอาหัวตะแคงเอา
ตาข้างหนึ่งหงายขึ้น ดึงหนังตาล่างลง
แล้วหยอดวัคซีนลงที่ลูกตา ถ้าหยอดจมูกต้องใช้นิ้วมือปิดรูจมูกล่าง
แล้วหยอดวัคซีนลงที่รูจมูกบนรอให้ลูกไก่หายใจเอาน้ำวัคซีนเข้าไป
2. การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ
หรือใต้ผิวหนัง เช่น วัคซีนอหิวาต์ ต้องใช้ฉีดวัคซีน
เข้ากล้ามเนื้อหน้าอกหรือกล้ามเนื้อน่องขา
ถ้าฉีดเข้าใต้ผิวหนังให้ดึงหนังคอและแทงเข้มทะลุผิวหนังโดยใช้เข็มฉีดยาเบอร์ 21
3. การแทงปีก
เช่น วัคซีนฝีดาษ ให้จับไก่หงายขึ้นเอาตีนชี้ฟ้าและกางปีกออกข้าง
หนึ่งจะเห็นผนังบางๆ
ยึดระหว่างโคนปีกกับกลางปีกใช้เข็มจุ่มน้ำยาและแทงลงที่ผนังปีกให้ทะลุครั้งเดียวก็พอ
หลังจากทำวัคซีนแล้ว 1 เดือน ต้องตรวจคลำดูที่ผนังปีกอีก ถ้าตรงแผลที่แทงวัคซีนเป็นตุ่ม
ๆ ก็ถือว่าปลูกฝีขึ้น ไก่มีความคุ้มโรคแล้ว
สรุป
การทำวัคซีนให้ไก่นั้นนับตั้งแต่หยอดหรือฉีดวัคซีนเข้าร่างกายไก่
ไก่จะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาอย่างช้า ๆ ต่อเนื่องถึง 14 วัน
ก็จะสิ้นสุดการสร้างภูมิคุ้มกัน ดังนั้น
เราควรให้ไก่ได้รับการพักผ่อนและเลี้ยงดูไก่อย่างดี หลังจากทำวัคซีน 14 วัน
จึงค่อยฝึกซ้อมหรือนำไปชนได้ เพื่อให้ไก่ได้มีภูมิคุ้มกันโรคได้เต็มที่ ดังนั้น
การทำวัคซีนจึงไม่ได้ทำให้ไก่มีกำลังถอยลงเพียงแต่หลังจากทำวัคซีนแล้ว 2-3 วัน
ไก่บางตัวอาจจะไม่สบายเช่น ตัวร้อน เป็นไข้ได้
แต่ถ้าไม่สังเกตให้ดีจะไม่พบอาการนั้น สำหรับเจ้าของไก่ที่นำไก่ไปชนหลังทำวัคซีนแล้วไก่แพ้ก็จะไปโทษที่วัคซีนทำให้ไก่กำลังถอยลง
ดังนั้น
การเลี้ยงไก่ชนต้องให้ความสำคัญในการทำวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาดในไก่
จึงจะทำให้การเลี้ยงไก่ชนในฟาร์มของเราประสบความสำเร็จ ไม่มีโรคระบาดมาเยี่ยมเยียน
มีไก่ที่แข็งแรงสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา
********************************
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น