ในการจัดงานฉลองครบรอบการครองราชย์ 400 ปี ของพระนเรศวรมหาราช เมื่อวันที่
29 กรกฏาคม 2533 ทางจังหวัดพิษณุโลก เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ของพระนเรศวร
ตอนชนไก่ชนะไก่ของพระมหาอุปราชา จึงมอบหมายให้ข้าพเจ้าซึ่งเป็นปศุสัตว์จังหวัด
รับหน้าที่ประกวดไก่ชนพระนเรศวร มีเวลาเตรียมการประกวดอยู่หลายเดือน
ในการรับหน้าที่อันสำคัญนี้ ข้าพเจ้าต้องศึกษาหาความรู้
จากผู้รู้เรื่องไก่ชนและต้องพูดคุยกับเซียนไก่ชน ไปยังสนามชนไก่ต่าง ๆ
ทุกท่านที่ข้าพเจ้าได้สัมผัสพูดคุยต่างพูดเป็นเสียงเดียว บอกว่า พ.ต.พิทักษ์ บัวเปรม
เป็นผู้รอบรู้เรื่องไก่ชนของจังหวัดพิษณุโลก
หรือของประเทศไทยก็สามารถยกย่องให้ท่านได้ ท่านมีความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่
การบำรุงไก่ การชนไก่ ตลอดจนศาสตร์และศิลป์ของการชนไก่ ภูมิปัญญาชาวบ้านต่าง ๆ
ท่านรอบรวมไว้หมด จึงนับว่าท่านเป็นปราชย์ไก่ชนท่านหนึ่งของประเทศไทยจริง ๆ
ข้าพเจ้าจึงตามหาบ้านท่านพิทักษ์
บัวปรม
จนพบและขอเข้าพบท่านเพื่อปรึกษาหารือเรื่องไก่ชนนเรศวร
ข้าพเจ้าได้รับความรู้จากท่านมากมาย
จึงขอเชิญท่านเป็นกรรมการตัดสินร่วมตัดสินด้วยท่านหนึ่ง
เมื่อการจัดการประกวดไก่สำเร็จลงด้วยดี ได้ไก่ที่ชนะเลิศดังนี้
ชนะเลิศที่
1 ไก่ของนายอุบล เกิดมุด
บ้านเลขที่ 1/1 หมู่ 3 ต.ไผ่ขอดอน อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ชนะเลิศที่
2 ไก่ของ นายปรีชา ศรีชัย
บ้านเลขที่ 3/2 หมู่ 5 ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ชนะเลิศที่
3 ไก่ของนายเฉลิม อู่ทองมาก
บ้านเลขที่ 184 หมู่ที่ 5 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ชนะเลิศที่
4 ไก่ของนายจรูญ พุ่มยิ้ม
บ้านเลขที่ 29 หมู่ 9 ต.ดอนทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ชนะเลิศที่
5 ไก่ของนายเฉลิม อู่ทองมาก
บ้านเลขที่ 184 หมู่ 5 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
รางวัลชมเชย
ไก่ของนายมนู เพชรบัว บ้านเลขที่ 139/1 หมู่ 7 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
รางวัลชมเชย ไก่ของนายชอุ่ม เอี่ยมนาค
บ้านเลขที่ 162/1 ต.ดอนทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
รางวัลชมเชย ไก่ของ พ.ต.ท.ทองสุก รอดเมือง
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
รางวัลชมเชย ไก่ของนายแมน
เพชรอ่อน ต.บ้านกร่าง อ.เมือง
จ.พิษณุโลก
รางวัลชมเชย ไก่ของนายประนอม เนียมหอม
ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
พ.ต.พิทักษ์ บัวเปรม
ได้เป็นผู้บอกลักษณะของไก่ตัวที่ชนะเลิศให้ข้าพเจ้าจดบันทึกเพราะเราต้องการไก่ที่สุดยอดที่สุด
เป็นต้นแบบ จึงต้องบันทึกไว้เป็นมาตรฐาน ซึ่งท่าน พ.ต.พิทักษ์
บัวเปรม ได้จับไก่ขึ้นมาแล้วบอกลักษณะส่วนต่าง
ๆ ของไก่เหลืองหางขาวตั้งแต่ หัวไก่ลงมาจนถึงเท้าไก่
ซึ่งเราได้มาตรฐานไก่ชนนเรศวรเป็นครั้งแรกด้วยความสามารถของท่านพิทักษ์ และความรอบรู้ของท่านผลงานมาตรฐานไก่ชนนเรศวร
จึงได้ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ในการพิมพ์หนังสือไก่ชนพระนเรศวรเล่มแรกเมื่อวันที่
26 เมษายน พ.ศ.2535 พ.ต.พิทักษ์
บัวเปรม
ยังได้บอกตำรายาโบราญตามภูมิปัญญาไทยในการเลี้ยงไก่ชนให้ข้าพเจ้าได้พิมพ์ลงหนังสือเพื่อเผยแพร่ให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบ
และนำไปใช้ด้วย คือ
1. ยาบำรุงไก่ชน ใช้กระชาย พริกไทย ดีปรี และตะไคร้ ตำให้แหลก นำมายัดใส่
ปากปลาช่อนตัวใหญ่ 1 ตัว ใส่ไปให้เต็มท้อง
แล้วนำปลาช่อนมาปิ้งให้สุกแล้วตำหรือโขลกทั้งตัวให้แหลก ผสมน้ำผึ้งเดือนห้า
ปั้นเป็นลูกกลอนให้ไก่กิน ตำหรับนี้นอกจากบำรุงกำลังแล้ว
ยังทำให้ปีกไก่แข็งแรงและบินสูง
2. ยาต้มน้ำอาบและนวด ใช้ไพร ตะไคร้ ใบมะขามแขก ใบส้มป่วย ใบมะขาม
และเกลือ
3. ยาถ่ายพยาธิ ใช้หมากสดครึ่งลูก ตำให้แหลก
ใช้กล้วยมาหุ้มป้อนให้ไก่กิน
ก่อนกินต้องให้ไก่อดอาหารตั้งแต่ตอนเย็น
รุ่งเช้าจึงป้อนยา
ข้าพเจ้าได้คันพบบันทึกอนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวรที่ท่าน พ.ต.พิทักษ์ บัวเปรม
เขียนถึงข้าพเจ้ามานานแล้ว เพื่อระลึกถึงบุญคุณของท่านที่ช่วยสร้างไก่ชนนเรศวรขึ้นมา
จึงนำบันทึกฉบับนี้มาถ่ายทอดให้สนใจไก่ชนนเรศวรทุกท่านได้ศึกษา
อนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวร
ก่อนอื่นผมขอชมเชยปศุสัตว์จังหวัด
คุณนิสิต ตั้งตระการพงษ์ และข้าราชการทุกคนที่ทำงานสำนักงานปศุสัตว์
ซึ่งเป็นแกนนำการประกวดไก่ชนเพื่อหาไก่ชนพระนเรศวร
(ไก่ชนเหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยงที่แท้จริง) เดิมผมกับ พล.ต.ต.ผดุง สิงห์เสนี
ท่านเป็นที่ผู้รักไก่ชนอันดับหนึ่ง นกเขาใหญ่อันดับสอง ท่านรับราชการที่ใด
ท่านก็เลี้ยงไก่ชนเป็นประจำ เมื่อท่านย้ายมารับราชการที่พิษณุโลก
ก็เลี้ยงไก่ชนและตั้งบ่อนไก่ชนเป็นบ่อนแรกในเมืองพิษณุโลก
ถูกต้องตามกฎหมายมีบ่อนเดียวเท่านั้น สำหรับผมก็ชอบไก่ชนอันดับหนึ่งเช่นเดียวกัน
สำหรับไก่ชน
ผมไปหาไก่ตามชาวบ้านที่เลี้ยงไว้เอาไปชนกับเด็ก ๆ รุ่นเดียวกันเป็นประจำ
ยังไม่มีบ่อนไก่ชน ชาวบ้านหรือชาวนาเลิกการทำนา
เมื่อถึงวันสงกรานต์เราจะนำไก่ชนมาตีกันตามลานนวดข้าว มีการพนันต่อซึ่งกันและกัน
มีข้าวเปลือกเป็นเดิมพัน เมื่อมีบ่อนไก่ชนชาวนา-ชาวบ้านนำไก่มาตีกันที่บ่อน ผมได้รู้จักนายบ่อน เดิมท่านเคยเป็นทหารมาก่อน
คุยเรื่องไก่ชนท่านก็เล่าให้ผมฟังว่ามีไก่ชนพระนเรศวรนั้นควรอนุรักษ์ไว้
ซึ่งท่านได้ศึกษาว่าไก่ชนพระนเรศวรอยู่ที่พิษณุโลกนี่เอง
ตั้งแต่นั้นมาท่านให้ผมศึกษาหาข้อมูลของไก่ชนเป็นต้นมา ท่านรักผมมา มีนิสัยคล้าย ๆ
กัน เล่นอะไรชอบศึกษาสิ่งนั้น ๆ ดังคำพังเพยที่ว่า “รู้อะไรต้องรู้ให้จริง” เช่น
ไก่ชนพระนเรศวรเป็นต้น เมื่อท่านเสียชีวิตผมก็ศึกษาต่อจนถึงปัจจุบัน
เริ่มพื้นฟูไก่ชนพระนเรศวร
เมื่อปี
2533 ครบ 400 ปี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีคุณหมอนิสิต ปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
มาหาผมที่บ้านว่าจะอนุรักษ์ไก่ชนนเรศวร
เมื่อท่านพูดความประสงค์ขึ้นมาทำให้ผมขนลุกขึ้นมาทั้งตัว
ผมจึงเล่าให้ท่านฟังตามที่ได้บันทึกไว้และคำบอกเล่าจาก พล.ต.ต.ผดุง จากตำราในใบข่อย จากคำบอกเล่าของรุ่นพี่-พ่อ
ผู้ชอบเล่นไก่ชนเพื่อให้ปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกเป็นแกนนำ
อนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวรจนถึงปัจจุบัน
ขอให้ท่านและพนักงานในสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกท่านจงเป็นแกนนำ เรื่อง
ไก่ชนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ถึงลูกหลานตลอดกาลนานเทอญ”
สรุป กำเนิดไก่ชนพระนเรศวร
พระองค์ท่านสมภพที่เมืองสองแคว ไก่ชนก็เกิดที่บ้านกร่าง (บ้านกลางเดิม)
ที่หมู่บ้านหัวแท ตะวันตกของทะเลแก้วห่างจากแม่น้ำน่าน 9 กิโลเมตร
(ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยงที่แท้จริง)
รายละเอียดของไก่ชนนเรศวร
ให้ดูหนังสือไก่ชนพระนเรศวรมหาราชไก่ลือเลืองของเมืองพิษณุโลก ซึ่งมีนายนิสิต ตั้งตระการพงษ์ ปศุสัตว์จังหวัดเขียนเอง 26 เมษายน 2535 เรียบร้อยแล้วดีแล้ว
พ.ต.พิทักษ์ บัวเปรม
******************************
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น