เลี้ยงไก่ในฤดูหนาว


            โดยธรรมชาติแล้วเมื่อหมดฤดูฝนลมหนาว ก็เริ่มพัดมาจากทางทิศเหนือลงมาทางทิศใต้ของประเทศไทย ทำให้อากาศเย็นลงจนเรารู้สึกหนาว อากาศที่หนาวมากของประเทศไทย คือ ภาคเหนือและภาคอีสาน อากาศหนาวจัดตามยอดเขาและบนดอยลมหนาวทำให้คนเราไม่สบายได้ ซึ่งโรคหวัดจะเป็นโรคประจำฤดูหนาวของคน ในสัตว์ก็เช่นกัน โดยเฉพาะผู้เลี้ยงไก่จะทราบว่าฤดูหนาวมาแล้วนั้น จะพบว่าลูกไก่ชอบอยู่รวมกัน นอนสุ่มกัน กินน้ำน้อย กินอาหารน้อยลงกว่าปกติ ไก่ที่สู้สมหนาวไม่ได้ จะแสดงอาการขี้เกียจขี้ขาว ๆ มีน้ำมูกไหล หายใจลำบาก แสดงว่าไก่ไม่สบายอาจเป็นโรคหวัดได้ ดังนั้น เมื่อเข้าฤดูหนาวเราต้องจัดการเลี้ยงดูไก่ให้เหมาะสมกับอากาศที่เย็นลง โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การจัดการสุขาภิบาลให้ไก่อบอุ่น ดังนี้
1.       การป้องกันลมพัดที่หนาวเย็น อากาศที่หนาวในเวลากลางคืน คอกเล้าที่อยู่ในที่โล่ง
แจ้ง มีลมโกรก ควรติดสะแลนรอบเล้าให้เวลากลางคืนก็เอาสะแลนลง ส่วนเวลากลาวันที่มีอากาศร้อนแดดจัด ก็ยกสะแลนขึ้น ก็จะช่วยไก่ที่เลี้ยงอบอุ่นขึ้น สู่กับลมหนาวได้
2.      การเลี้ยงลูกไก่เล็ก ก็ต้องกกไฟฟ้าให้ความอบอุ่นทั้งกลางวันและกลางคืนโดยใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 60 วัตต์ ก็พอ แต่ต้องให้อยู่ในที่ครอบหรือในกล่องก็ได้ โดยสังเกตลูกไก่ต้องนอนกระจาย แต่ถ้าลูกไก่นอนสุมกันก็แสดงว่าความอบอุ่นไม่พอ การกกลูกไก่นั้นควรมีถาดน้ำให้ลูกไก่ตลอดเวลา

3.      การให้วิตามินซี หรือการให้วิตามินซีรวมกับวิตามินชนิดอื่น ๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายไก่ปรับตัวเองให้เข้ากับอากาศที่เย็นลงได้เป็นอย่างดี สำหรับไก่โตซื้อวิตามินซีของคนให้กินตัวละเม็ดต่อวัน ติดกันประมาณ 7 วัน สำหรับลูกไก่เอาวิตามินซีที่เม็มาทุบละลายน้ำให้กินก็ได้
SHARE

นสพ.นิสิต ตั้งตระการพงษ์

ผู้จุดประกายหมาบางแก้วและไก่เหลืองหางขาวจนโด่งดังทั่วประเทศ ซึ่งสุนัขพันธุ์บางแก้วและไก่ชนพันธุ์พระนเรศวรเหลืองหางขาว เป็นสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดพิษณุโลก และเป็นสินค้าส่งออกที่มีความต้องการไปทั่วประเทศ แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ มีบุคคลหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังและใช้เวลาเกือบครึ่งชีวิต เก็บข้อมูล บันทึก ผลักดันมาตรฐานพันธุ์ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่จุดประกายให้สุนัขบางแก้วและไก่เหลืองหางขาวโด่งดังมาจนถึงวันนี้

  • Image
  • Image
  • Image
  • Image
  • Image
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น