เทาทองไก่ชนพระเจ้าตากสินมหาราช

                        ปากพิงเป็นหมู่บ้านใหญ่ตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำน่าน คือ บ้านปากพิงตะวันออก และบ้านปากพิงตะวันตก ประชากรของหมู่บ้านมีอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวนและทำประมงเป็นหลัก
โดยมีคลองพิงเชื่อมแม่น้ำยมที่บ้านกลับพวง เชื่อมแม่น้ำน่านที่บ้านปากพิง  ดังนั้นบ้านปากพิงจึงมีความสำคัญของผู้คนในการเดินทางโดยทางเรือใช้คลองพิงติดต่อระหว่างสุโขทัยและพิษณุโลก ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็น เมืองหลวงของไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีกล่าวไว้ในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนแผนยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ได้แวะเยี่ยมม้าสีหมอกที่จังหวัดพิจิตรแล้วเดินทางผ่านบ้านปากพิง ไปนมัสการหลวงพ่อชินราชที่พิษณุโลก ในสมัยรัชกาลที่ 5 จากพระราชหัตถเลขาถึงกรมหลวงเทวะษวโรประการเรื่องเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.2444 ฉบับที่ 11 ปากน้ำพิงเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ ศก 120  ความว่า
                        “อนุสนธิรายงานวันนี้ เวลาเช้าโมงครึ่งออกเรือจากเมืองพิจิตรมาถึงตำบลปากพิงเวลาบ่ายสี่โมง.......  เมื่อมาถึงพลับพลาแล้วได้ลงเรือเล็กเข้าไปในแม่น้ำพิง…………เข้าไปในลำน้ำพิงประมาณ 15 เส้น ขึ้นบกเดินขึ้นไปอีกไม่มาก มีที่ตั้งค่ายคูแลสนามเพลาะยังปรากฎอยู่  ชาวบ้านทำนาในที่นั่นว่าขุดพบกระสุนปืนบ่อยๆ”…..
                        ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของบ้านปากพิงได้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2318 พระเจ้ามังระมีความประสงค์จะตีเมืองไทยให้ได้โดยเด็ดขาดโปรดให้อะแซหวุ่นกี้นำกองทัพมาทำศึกกับไทย มาทางด่านแม่ละเมาจังหวัดตากหมายจะยึดเมืองพิษณุโลกอันดับแรก แล้วขยายผลเข้าตีกรุงธนบุรีต่อไป  พระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพหลวงมาตั้งค่ายที่ปากพิง เมื่อเดือน 3 ขึ้น 7 ค่ำ มีกำลังพล 12,000 คน  ปากพิงจึงเป็นฐานทัพหลวงของพระเจ้าตากสินมหาราชที่ใช้สู้รบกันกับอะแซหวุ่นกี้อยู่ 10 เดือน  อะแซหวุ่นกี้จึงถอยทัพกลับพม่า
                        เมื่อปากพิงเป็นชุมชนใหญ่มีประชากรมาก มีความเจริญทางด้านการค้าขาย และพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ในน้ำมีปลาในนามีข้าว  ปากพิงจึงเป็นจุดพักของการเดินทางค้าขายจากหัวเมืองทางใต้สู่หัวเมืองทางเหนือ และยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการรบด้วย  ชาวบ้านชุมชนปากพิงได้มีการบอกเล่ากันต่อๆมาจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่รุ่นทวด รุ่นปู่ รุ่นพ่อและรุ่นหลาน ประมาณ 3-4 ชั่วคนว่า “ในการรบกับพม่า พระเจ้าแผ่นดิน(พระเจ้าตากสินมหาราช)ได้สั่งให้ทำสะพานกลหรือสะพานหกกระดก  เพื่อหลอกให้ทหารพม่าไล่ตีทหารไทย เดินข้ามสะพานกล แล้วตกลงในแม่น้ำ จึงถูกทหารไทยฆ่าตายจนสีของน้ำในแม่น้ำกลายเป็นสีแดงทั้งคุ้ง”  นอกจากนี้ยังมีการบอกเล่ากันอีกว่า “ทหารที่ดูแลเรื่องเสบียงอาหารของกองทัพ สั่งห้ามฆ่าไก่สีเทา เป็นอาหาร เพราะทราบว่าเจ้าเหนือหัว(พระเจ้าตากสินมหาราช)ทรงโปรดปราณไก่สีเทาทองมาก”ดังนั้นในสมัยโบราณที่บ้านปากพิงแห่งนี้จึงมีสายพันธุ์ไก่สีเทาที่เหลือรอดชีวิตลี้ยงอยู่เต็มใต้ถุนบ้านทุกครัวเรือน แต่ในปัจจุบันไก่เทาไก่พื้นบ้านที่บ้านปากพิงมีเหลือให้เห็นน้อยมาก กลุ่มเลี้ยงไก่ชนพื้นบ้านที่  นำโดยนายสนาม เขียวขำ  นายสำเริง  ยอดเกี้ยวและนายไพศาล  เทียนธรรม  จึงร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วงามจัดประกวดไก่ชนพระเจ้าตากสินเทาทองขึ้น  ในงานพิธีบวงสรวงเทอดพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ที่บริเวณวัดปากพิงตะวันตก  เพื่อให้ชุมชนบ้านปากพิงได้ระลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษที่ได้ต่อสู้กับอริราชศตรูเพื่อรักษาเอกราชของชาติไทยเราไว้  โดยเฉพาะสมรภูมิรบที่บ้านปากพิงของพระเจ้าตากสินมหาราช และได้อนุรักษ์ไก่ชนสีเทาทองให้มีเลี้ยงเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านอีกด้วย
                        ไก่เทาทองพระเจ้าตากสินเป็นชื่อเรียกของคนบ้านปากพิง  ความจริงแล้วชาวไก่ชนทั่วไปว่าไก่เทาทองหางขาว เป็นไก่ที่มีรูปร่างสวยงามยืนหน้าอกเชิด ยกหัวยกปีก คอยาวระหง ลำตัวกลมจับเป็นสองท่อนใบหน้าสวยงามดูคมสันเหมือนนกเหยี่ยว ปากใหญ่มีสองน้ำลึก หงอนจัดอยู่พวกหงอนหิน หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง ปลายหงอนยาวเลยลูกตา และกดกระหม่อม
            ขน  ขนลำตัวตั้งแต่คอลงมาถึงท้องและก้นมีสีเทาไม่มีสีอื่นเจือปน
            ขนปีก  ขนปีกทั้งปีกนอกปีกในมีสีเทาส่วนปีกไชอาจมีสีขาวปนได้
            ขนหาง  ไก่เทาจะมีหางกระลวยเป็นสีขาว  กระลวยคู่กลางจะมีสีขาวตลอดทั้งเส้นส่วนหางพัดจะเป็นสีเทา
            สร้อย  สร้อยคอสร้อยหลังและสร้อยปีกจะต้องเป็นสีเหลืองทอง สีของปากจะมีสีขาวอมเหลืองเหมือนสีของลูกตา สีเกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้ว เล็บ และเดือยจะเป็นสีขาวอมเหลือง
            ไก่เทาทองเพศเมียนั้น สีขนทั้งตัวคือ ขนพื้นลำตัว ขนปีก ขนหาง ต้องเป็นสีเทาที่สะอาดไม่มีสีอื่นเจือปน ขนปีกหนาและยาวเป็นไก่ลำตัวยาว  คอยาวดูแล้วสูงระหง หน้าตาคมคางรัดเฟรด สีของปาก สีลูกตา สีเกล็ดแข้ง นิ้ว เล็บ และตุ่มเดือย ต้องเป็นสีขาวอมเหลือง ไก่เทาทองเพศเมียถ้ามีสร้อย หรือปลายขนคอจะมีสีออกเหลืองทอง และมีเดือยด้วยจะเป็นแม่ไก่ที่ให้ลูกเก่ง

            ดังนั้น ไก่เทาทองพระเจ้าตากสิน ถือว่าเป็นไก่มงคลที่ท่านพระราชประทานให้บ้านปากพิง ซึ่งเป็นที่ตั้งฐานทัพหลวงสู้ศึกพม่าจนได้รับชัยชนะ ลูกหลานคนปากพิง จึงได้รวมตัวกันสร้างศาล พระเจ้าตากสินมหาราชขึ้น ที่วัดปากพิงตะวันตก เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงความสำคัญของพระองค์ท่าน เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชนบ้านปากพิงและคนไทยทั่วไป ชาวปากพิงจึงได้จัดงานประเพณีประจำปี เพื่อบวงสรวงและเทิดพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราชในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันขึ้นครองราชย์ของพระองค์ท่านในงานพิธีบวงสรวงจะต้องมีรำกระบี่กระบอง ฟันดาบถวายในงานพิธี และการประกวดไก่เทาทอง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไก่เทาทองให้เป็นเอกลักษณ์อยู่คู่บ้านปากพิงตลอดไปปากพิงเป็นหมู่บ้านใหญ่ตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำน่าน คือ บ้านปากพิงตะวันออก และบ้านปากพิงตะวันตก ประชากรของหมู่บ้านมีอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวนและทำประมงเป็นหลัก
โดยมีคลองพิงเชื่อมแม่น้ำยมที่บ้านกลับพวง เชื่อมแม่น้ำน่านที่บ้านปากพิง  ดังนั้นบ้านปากพิงจึงมีความสำคัญของผู้คนในการเดินทางโดยทางเรือใช้คลองพิงติดต่อระหว่างสุโขทัยและพิษณุโลก ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็น เมืองหลวงของไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีกล่าวไว้ในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนแผนยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ได้แวะเยี่ยมม้าสีหมอกที่จังหวัดพิจิตรแล้วเดินทางผ่านบ้านปากพิง ไปนมัสการหลวงพ่อชินราชที่พิษณุโลก ในสมัยรัชกาลที่ 5 จากพระราชหัตถเลขาถึงกรมหลวงเทวะษวโรประการเรื่องเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.2444 ฉบับที่ 11 ปากน้ำพิงเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ ศก 120  ความว่า
                        “อนุสนธิรายงานวันนี้ เวลาเช้าโมงครึ่งออกเรือจากเมืองพิจิตรมาถึงตำบลปากพิงเวลาบ่ายสี่โมง.......  เมื่อมาถึงพลับพลาแล้วได้ลงเรือเล็กเข้าไปในแม่น้ำพิง…………เข้าไปในลำน้ำพิงประมาณ 15 เส้น ขึ้นบกเดินขึ้นไปอีกไม่มาก มีที่ตั้งค่ายคูแลสนามเพลาะยังปรากฎอยู่  ชาวบ้านทำนาในที่นั่นว่าขุดพบกระสุนปืนบ่อยๆ”…..
                        ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของบ้านปากพิงได้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2318 พระเจ้ามังระมีความประสงค์จะตีเมืองไทยให้ได้โดยเด็ดขาดโปรดให้อะแซหวุ่นกี้นำกองทัพมาทำศึกกับไทย มาทางด่านแม่ละเมาจังหวัดตากหมายจะยึดเมืองพิษณุโลกอันดับแรก แล้วขยายผลเข้าตีกรุงธนบุรีต่อไป  พระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพหลวงมาตั้งค่ายที่ปากพิง เมื่อเดือน 3 ขึ้น 7 ค่ำ มีกำลังพล 12,000 คน  ปากพิงจึงเป็นฐานทัพหลวงของพระเจ้าตากสินมหาราชที่ใช้สู้รบกันกับอะแซหวุ่นกี้อยู่ 10 เดือน  อะแซหวุ่นกี้จึงถอยทัพกลับพม่า
                        เมื่อปากพิงเป็นชุมชนใหญ่มีประชากรมาก มีความเจริญทางด้านการค้าขาย และพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ในน้ำมีปลาในนามีข้าว  ปากพิงจึงเป็นจุดพักของการเดินทางค้าขายจากหัวเมืองทางใต้สู่หัวเมืองทางเหนือ และยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการรบด้วย  ชาวบ้านชุมชนปากพิงได้มีการบอกเล่ากันต่อๆมาจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่รุ่นทวด รุ่นปู่ รุ่นพ่อและรุ่นหลาน ประมาณ 3-4 ชั่วคนว่า “ในการรบกับพม่า พระเจ้าแผ่นดิน(พระเจ้าตากสินมหาราช)ได้สั่งให้ทำสะพานกลหรือสะพานหกกระดก  เพื่อหลอกให้ทหารพม่าไล่ตีทหารไทย เดินข้ามสะพานกล แล้วตกลงในแม่น้ำ จึงถูกทหารไทยฆ่าตายจนสีของน้ำในแม่น้ำกลายเป็นสีแดงทั้งคุ้ง”  นอกจากนี้ยังมีการบอกเล่ากันอีกว่า “ทหารที่ดูแลเรื่องเสบียงอาหารของกองทัพ สั่งห้ามฆ่าไก่สีเทา เป็นอาหาร เพราะทราบว่าเจ้าเหนือหัว(พระเจ้าตากสินมหาราช)ทรงโปรดปราณไก่สีเทาทองมาก”ดังนั้นในสมัยโบราณที่บ้านปากพิงแห่งนี้จึงมีสายพันธุ์ไก่สีเทาที่เหลือรอดชีวิตลี้ยงอยู่เต็มใต้ถุนบ้านทุกครัวเรือน แต่ในปัจจุบันไก่เทาไก่พื้นบ้านที่บ้านปากพิงมีเหลือให้เห็นน้อยมาก กลุ่มเลี้ยงไก่ชนพื้นบ้านที่  นำโดยนายสนาม เขียวขำ  นายสำเริง  ยอดเกี้ยวและนายไพศาล  เทียนธรรม  จึงร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วงามจัดประกวดไก่ชนพระเจ้าตากสินเทาทองขึ้น  ในงานพิธีบวงสรวงเทอดพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ที่บริเวณวัดปากพิงตะวันตก  เพื่อให้ชุมชนบ้านปากพิงได้ระลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษที่ได้ต่อสู้กับอริราชศตรูเพื่อรักษาเอกราชของชาติไทยเราไว้  โดยเฉพาะสมรภูมิรบที่บ้านปากพิงของพระเจ้าตากสินมหาราช และได้อนุรักษ์ไก่ชนสีเทาทองให้มีเลี้ยงเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านอีกด้วย
                        ไก่เทาทองพระเจ้าตากสินเป็นชื่อเรียกของคนบ้านปากพิง  ความจริงแล้วชาวไก่ชนทั่วไปว่าไก่เทาทองหางขาว เป็นไก่ที่มีรูปร่างสวยงามยืนหน้าอกเชิด ยกหัวยกปีก คอยาวระหง ลำตัวกลมจับเป็นสองท่อนใบหน้าสวยงามดูคมสันเหมือนนกเหยี่ยว ปากใหญ่มีสองน้ำลึก หงอนจัดอยู่พวกหงอนหิน หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง ปลายหงอนยาวเลยลูกตา และกดกระหม่อม
            ขน  ขนลำตัวตั้งแต่คอลงมาถึงท้องและก้นมีสีเทาไม่มีสีอื่นเจือปน
            ขนปีก  ขนปีกทั้งปีกนอกปีกในมีสีเทาส่วนปีกไชอาจมีสีขาวปนได้
            ขนหาง  ไก่เทาจะมีหางกระลวยเป็นสีขาว  กระลวยคู่กลางจะมีสีขาวตลอดทั้งเส้นส่วนหางพัดจะเป็นสีเทา
            สร้อย  สร้อยคอสร้อยหลังและสร้อยปีกจะต้องเป็นสีเหลืองทอง สีของปากจะมีสีขาวอมเหลืองเหมือนสีของลูกตา สีเกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้ว เล็บ และเดือยจะเป็นสีขาวอมเหลือง
            ไก่เทาทองเพศเมียนั้น สีขนทั้งตัวคือ ขนพื้นลำตัว ขนปีก ขนหาง ต้องเป็นสีเทาที่สะอาดไม่มีสีอื่นเจือปน ขนปีกหนาและยาวเป็นไก่ลำตัวยาว  คอยาวดูแล้วสูงระหง หน้าตาคมคางรัดเฟรด สีของปาก สีลูกตา สีเกล็ดแข้ง นิ้ว เล็บ และตุ่มเดือย ต้องเป็นสีขาวอมเหลือง ไก่เทาทองเพศเมียถ้ามีสร้อย หรือปลายขนคอจะมีสีออกเหลืองทอง และมีเดือยด้วยจะเป็นแม่ไก่ที่ให้ลูกเก่ง
            ดังนั้น ไก่เทาทองพระเจ้าตากสิน ถือว่าเป็นไก่มงคลที่ท่านพระราชประทานให้บ้านปากพิง ซึ่งเป็นที่ตั้งฐานทัพหลวงสู้ศึกพม่าจนได้รับชัยชนะ ลูกหลานคนปากพิง จึงได้รวมตัวกันสร้างศาล พระเจ้าตากสินมหาราชขึ้น ที่วัดปากพิงตะวันตก เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงความสำคัญของพระองค์ท่าน เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชนบ้านปากพิงและคนไทยทั่วไป ชาวปากพิงจึงได้จัดงานประเพณีประจำปี เพื่อบวงสรวงและเทิดพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราชในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันขึ้นครองราชย์ของพระองค์ท่านในงานพิธีบวงสรวงจะต้องมีรำกระบี่กระบอง ฟันดาบถวายในงานพิธี และการประกวดไก่เทาทอง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไก่เทาทองให้เป็นเอกลักษณ์อยู่คู่บ้านปากพิงตลอดไป
SHARE

นสพ.นิสิต ตั้งตระการพงษ์

ผู้จุดประกายหมาบางแก้วและไก่เหลืองหางขาวจนโด่งดังทั่วประเทศ ซึ่งสุนัขพันธุ์บางแก้วและไก่ชนพันธุ์พระนเรศวรเหลืองหางขาว เป็นสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดพิษณุโลก และเป็นสินค้าส่งออกที่มีความต้องการไปทั่วประเทศ แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ มีบุคคลหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังและใช้เวลาเกือบครึ่งชีวิต เก็บข้อมูล บันทึก ผลักดันมาตรฐานพันธุ์ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่จุดประกายให้สุนัขบางแก้วและไก่เหลืองหางขาวโด่งดังมาจนถึงวันนี้

  • Image
  • Image
  • Image
  • Image
  • Image
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น