วันที่ 29
กันยายน 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ได้จัดงานทำบุญ
เทศน์มหาชาติการกุศล
เป็นการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีการเทศน์มหาชาติให้อยู่คู่กับสังคมไทย
ในงานนี้ข้าพเจ้าและอาจารย์สมบัติ
พรหมเสน รองอธิการบดี
ได้ต้อนรับท่านอภัย จันทจุลกะ
มาฟังเทศน์มหาชาติด้วย เมื่อพบก็สวัสดีทักทายท่านและคณะ
แล้วท่านอภัยก็หันหน้ามาที่ข้าพเจ้าพูดว่า “กระดิ่งยังอยู่น๊ะหมอ” “ครับ”
ข้าพเจ้าตอบรับ อาจารย์สมบัติ พรหมเสน
มองหน้าข้าพเจ้าแบบงง ๆ ข้าพเจ้าจึงกระซิบว่าเดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง
เมื่อมีโอกาสได้นั่งคุยกับอาจารย์สมบัติ
ที่ห้อง อาจารย์สมบัติ
พรหมเสน รีบถามเรื่อง “กระดิ่งของท่านอภัย”
เพื่อให้คลายสงสัยข้าพเจ้าจึงเล่าให้ฟังว่า เมื่อวันที่ท่านอภัย ย้ายจากผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ไปรับหน้าที่อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนที่กรุงเทพฯ
ข้าพเจ้าได้เอากระดิ่งผูกคอโคโบราญ 1 คู่
ใส่กล่องเป็นของขวัญมอบให้ท่านเป็นของที่ระลึก หลังจากนั้นอีก 3 วัน
ข้าพเจ้าได้รับโทรศัพท์จากท่านอภัย “ หมอกระดิ่งหมายความว่าอะไร”
ข้าพเจ้าตอบว่า “กระดิ่งนี้เป็นกระดิ่งโบราญ ยิ่งสั่นเสียงยิ่งดังกังวานเหมือนกระดิ่งในสมัยสุโขทัย” อาจารย์สมบัติ ยิ่งสงสัยเพิ่มขึ้นอีก นี่ท่านย้ายไป 20 ปีแล้ว
ท่านพบหมอยังบอกว่ากระดิ่งยังอยู่เน๊ะ ต้องมีความหมายมากกว่าที่เล่ามาแน่ๆ
อันที่จริงกระดิ่งผูกคอโคมันมีความหมายอยู่ในตัวของมันแล้ว
ว่าต้องรับใช้ประชาชนเนื้อกระดิ่งชั้นดีของโบราญทำด้วยหินลงญา เสียงต้องก้องกังวาน
คือผู้ที่รับใช้ที่ดี เมื่อมีทุกข์ของชาวประชา (คนสั่นกระดิ่ง)
ย่อมได้รับการปัดเป่าทุกข์จนเป็นผลสำเร็จ
ทุกข์ของชมรมอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวรตำบลหัวรอ ในปี พ.ศ.2535
คือไม่มีงบประมาณซื้อพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ไก่ชนนเรศวรมาทำพันธุ์ ท่านอภัย จันทนจุลกะ
ก็อนุมัติเงินงบประมาณให้ได้พ่อพันธุ์ไก่ 25 ตัว และแม่พันธุ์ไก่ 75 ตัว
ต่อมาทางชมรมก็เป็นทุกข์อีกว่า ทำอย่างไรจะขายลูกไก่ชนนเรศวรได้
ประธานชมรมโดยกำนันเฉลิม อู่ทองมาก อาจารย์ประดิษฐ์ เชื้อสิงห์
คุณสมคิด คุ้มฉาย
และข้าพเจ้าก็ลงความเห็นว่ามีวิธีเดียวจะต้องจุดประกายโฆษณาให้ไก่ชนนเรศวรโด่งดังขึ้นมาโดยเร็วคือ
ต้องให้เจ้าเมือง(ผู้ว่าราชการจังหวัด) เลี้ยงไก่ชนพระนเรศวร
ข้าพเจ้าจึงให้ชมรมทำเล้าไก่ขนาดกะทัดรัด
เหมาะที่จะยกไปวางไว้ที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดดูแล้วสวยงามด้วย เป็นทรงไทยหลังคามุงด้วยหญ้าคา
เสียงไก่ได้
1 คู่
ข้าพเจ้าเข้าพบท่านอภัย
เพื่อรายงานผลสำเร็จ การจัดตั้งชมรมอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวรตำบลหัวรอ
แล้วเรียนท่านว่าทางชมรมมีความเห็นว่า “ไก่ชนเหลืองหางขาว
ไก่เจ้าเลี้ยงเหมาะที่จะให้เจ้าเมืองเลี้ยง เพื่อเป็นศิริมงคลและเสริมบารมี
ตามความเชื่อของคนโบราญ” ข้าพเจ้าได้นำกรงไว้เรียบร้อยแล้วพร้อมทั้งอาหารและคนเลี้ยง
ท่านไม่ขัดข้อง เพียงแต่บอกว่า “ดีเหมือนกัน”
รุ่งขึ้นกรงพร้อมไก่ชนนเรศวรที่ชนะการประกวดได้ที่ 1 นำไปตั้งไว้ที่จวนเจ้าเมือง
อาจารย์ประดิษฐ์ เชื้อสิงห์
รับราชการอยู่ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด ไปดูแลไก่อยู่เป็นประจำทุกวัน
ข่าวผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเลี้ยงไก่ชนนเรศวรก็แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว
สื่อทุกแขนงทำข่าวเรื่องไก่ชนนเรศวร ไก่ชนตามประวัติศาสตร์ของชาติไทย
ทำให้ชมรมไก่ชนนเรศวรตำบลหัวรอ เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ลูกไก่ชนนเรศวรก็ขายดี
ทางชมรมฯ ต้องออกระเบียบการขายลูกไก่ตามอายุราคาเดือนละ 100 บาท เช่น ลูกไก่อายุ 5
เดือนราคา 500 บาท ลูกไก่ก็ไม่พอต่อความต้องการของผู้มาหาซื้อ
บางท่านก็มาจากจังหวัดไกล ๆ หาซื้อลูกไก่ไม่ได้
ก็ถามหาซื้อไข่ไก่มีเชื้อเพื่อนำไปฟักเอง ท่านอภัยเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกลช่วยเหลือผู้เลี้ยงไก่ชนนเรศวรแล้วได้การอนุรักษ์ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง
ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยด้วย ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง
เป็นไก่ที่มีเชื้อสกุลสูงกว่าไก่อื่น ๆ ทุกสายพันธุ์ เป็นไก่ที่มีรูปร่างสง่างาม
รักสวยรักงามจะไซ้ขนแต่งตัวสม่ำเสมอ ย่างเดินสง่างามเหมือนดั่งราชสีห์
เป็นที่น่าเกรงขามแก่ไก่อื่น เมื่อได้พบเห็น คนโบราญกล่าวไว้ว่าไก่เหลืองหางขาวไก่
เจ้าเลี้ยง
ถ้าผู้ใดได้เลี้ยงจะเป็นศิริมงคล และเสริมบารมีแก่ผู้เลี้ยงและครอบครัว อาจารย์สุรกาญจณ์ วิเชียรสรรค์
ได้ร้อยกรองคุณของไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยงไว้ดังนี้
ไก่เหลืองหางขาวมีเดชะ โสฬจะศฤขดารไอยศูรย์
เป็นเสน่ห์
เมตตาอายุพูน ทวีคูณ
ความสุข ศิริมงคล
จะนำเกียรติยศปรากฏรุ่ง จะเฟื้องฟุ้ง คุ้มภัยไม่ขัดกัน
แม้นเป็นไพร่ก็จะได้เป็นนายคน ก้องสกุล วาสนา บารมี
นานาทรัพย์เผอิญให้มีมา จะเดชานุภาพ สมศักดิ์ศรี
ใครเลี้ยงไว้
สุขเกษมและเปรมปรีย์ อาจประหาญไพรี
แพ้สกุล
หากแม้นตายก็อย่าทิ้งซึ่งซากผี ฝังแรมปีบุญเอื้อและเกื้อหนุน
อันอิฐฐิรักษาไว้จะให้คุณ คอยค้ำจุนหลากสิ่ง
“ยิ่งตระกูล”
ท่านอภัย จันทนจุลกะ
เป็นผู้จุดประกายให้ไก่ชนนเรศวรเหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง มีชื่อเสียงโด่งดัง
ท่านเป็นผู้ให้ก่อตั้งชมรมอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวร
ท่านเป็นผู้ให้งบประมาณมาจัดหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์
มาเพาะเลี้ยงเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ให้ได้มาตรฐาน
ท่านเป็นเจ้าเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) ผู้เลี้ยงไก่เจ้าเลี้ยง
เพียงผู้เดียวของประเทศไทย เพื่อประกาศว่านี่คือไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง
ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นไก่ที่มีลักษณะถูกต้องตามตำราโบราญ
ได้มาตรฐานตามอุดมทัศนีย์ ผู้เลี้ยงไก่เจ้าเลี้ยงย่อมได้รับความเป็นสิริมงคล
รับราชการเจริญรุ่งเรืองชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วแผ่นดินไทย ท่านอภัย จันทนจุลกะ
ย้ายจากผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ไปรับตำแหน่งอธิบดีอีกหลายกรม
และได้รับเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เป็นปลัดกระทรวงอีกหลายกระทรวง ได้รับเกียรติสูงสุดเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
และขณะนี้ท่านดำรงตำแหน่งรองประธานมูลนิธิเพื่อนพึ่งภายามยากสภากาชาดไทย
ความเชื่อของคนโบราญจึงปรากฏให้เห็นดั่งเช่นท่านอภัย จันทนจุลกะ
ดังนั้น ผู้เลี้ยงไก่ชนเหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยงทุกท่านต้องอนุรักษ์และสืบสานต่อให้ไก่ชนนเรศวรอยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป
************************
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น