ไก่ชนนเรศวรเป็นไก่ประวัติศาสตร์ของชาติไทย
คนไทยทุกคนต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์พระนเรศวรมหาราช ประลองการชนไก่ชนะไก่ของพระมหาอุปราชาของพม่า ไก่ชนเหลืองหางขาวเป็นไก่ชนที่พระนเรศวรมหาราช
ได้นำไปจากบ้านหัวแท (ปัจจุบันคือบ้านกร่าง)ในการชนชนะครั้งนั้น จังหวัดพิษณุโลก
จึงจัดให้มีการประกวดหาไก่ชนนเรศวรเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๙
กรกฏาคม ๒๕๓๓ ซึ่งเป็นวันครบรอบการครองราชย์
๔๐๐ ปี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีไก่ชนนำเข้าประกวดมากถึง ๖๓๓
ตัว คัดเลือกได้ไก่ชนนเรศวรชนะเลิศที่หนึ่ง เป็นของนายอุบล เกิดมุด
บ้านเลขที่ ๑/๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
จึงนำมาเป็นไก่ต้นแบบเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา ดังนั้น การจัดตั้งชมรมอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวร
ก็เริ่มขึ้นที่แหล่งกำเนิดคือ บ้านกร่าง
แต่ไม่ประสพความสำเร็จเหมือนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาดลใจข้าพเจ้า ให้ไปจัดตั้งกลุ่มที่ตำบลหัวรอในการประชุมผู้เลี้ยงไก่ครั้งแรกที่
“วัดตาประขาวหาย”
ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณที่มีความศักดิ์สิทธิ์ผู้คนนับถือมาก ตามประวัติเล่าว่า
ตาประขาวหายท่านนี้ คือ เทวดาแปลงกายมาช่วยหล่อองค์พระพุทธชินราช
หลังจากที่หล่อองค์พระพุทธชินราชถึง ๓ ครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จ
ตาประขาวหายท่านมาช่วยตั้งแต่ปั้นหุ่น
และเททองหล่อองค์พระพุทธชินราชจนเสร็จเรียบร้อย แล้วท่านก็เดินขึ้นไปทางเหนือ
มีผู้พบเห็นตาประขาวครั้งสุดท้ายตรงบริเวณวัดตาประขาวหายปัจจุบันนี้
แล้วเห็นท้องฟ้าเปิดเป็นช่องขึ้นไป เสหมือนหนึ่งท่านเดินทางกลับสวรรค
ชุมชนบริเวณนี้จึงสร้างวัดขึ้นมาตั้งชื่อว่า “วัดตาประขาวหาย”
เหตุการณ์ที่ตาประขาวหายตัวกลับขึ้นสวรรคนั้นเกิดขึ้นมาแล้ว ๖๕๗ ปี
(หล่อพระพุทธชินราชประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๘)
ด้วยพลังแห่งอำนาจบุญบารมีของตาประขาวหาย
ได้ช่วยให้การจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวรประสบความสำเร็จ
นำโดยกำนันเฉลิม อู่ทองมาก เป็นประธานกลุ่ม นายประดิษฐ์ เชื้อสิงห์
เป็นที่ปรึกษากลุ่มและนายสมคิด คุ้มฉาย
เป็นเลขากลุ่ม ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ทางจังหวัดพิษณุโลก
ให้จัดตั้งกลุ่มและให้เงินมาดำเนินการจัดซื้อไก่พ่อพันธุ์ ๒๕ ตัว แม่พันธุ์ ๗๕ ตัว
โดยมอบไก่พ่อพันธุ์ ๑ ตัว และแม่พันธุ์ ๓ ตัว ให้สมาชิก ๑
ท่านไปผสมพันธุ์และส่งคืนลูกไก่เพื่อให้สมาชิกรายอื่นยืมต่อไป กำนันเฉลิม
อู่ทองมาก
นับว่าเป็นผู้นิยมเลี้ยงไก่ชนอยู่ในขั้นแนวหน้า
และมีความนิยมชมชอบไก่เหลืองหางขาวเป็นอันมาก
จึงอนุรักษ์ไก่ชนเหลืองหางขาวไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อมีการประกวดไก่ชนพระนเรศวรครั้งแรกเมื่อวันที่
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๓๓ ไก่เหลืองหางขาวของกำนันเฉลิม อู่ทองมาก ได้รับรางวัล ๒ ตัว คือ
ชนะเลิศที่ ๓ และชนะเลิศที่ ๕ อีกหนึ่งตัว
กำนันเฉลิมจึงเป็นผู้นำจัดตั้งชมรมอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวรขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
นอกจากนี้ไก่เหลืองหางขาวของนายมนู
เพชรบัว บ้านเลขที่ ๑๓๙/๑
หมู่ที่ ๗ ตำบลหัวรอ ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดไก่ชนพระนเรศวรเมื่อวันที่ ๒๙
กรกฎาคม ๒๕๓๓ เช่นเดียวกัน ลูกไก่ที่สมาชิกของชมรมผลิตออกมา
เป็นที่ต้องการของผู้เลี้ยงไก่ชนทั่วประเทศ จึงทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น
ซึ่งนับว่าเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้แก่สมาชิกของชมรมเป็นอย่างดี ปัจจุบันสมาชิกบางรายสามารถขายไก่ชนนเรศวรเป็นอาชีพได้
ดังนั้น ไก่ชนนเรศวรจึงสินค้าโอท๊อปของตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหัวรอได้ให้การสนับสนุนแก่ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวรเป็นอันมาก
โดยเปิดศูนย์บริการเรียนรู้และจำหน่ายไก่ชนที่บ้านนายสมคิด คุ้มฉาย
ให้การต้อนรับแขกต่างจังหวัดที่มาเยือนดูงาน
ตลอดจนจัดซื้ออุปกรณ์การให้คะแนนไก่ด้วยเครื่องไฟฟ้าใช้ในการประลองไก่เพื่อเพิ่มมูลค่า
เรียกว่าชนไก่แบบบ๊อกซิ่ง คุณสมคิด
คุ้มฉาย เป็นนักผสมพันธุ์ไก่ชนนเรศวร
มีไก่นเรศวรที่สวยงามอยู่หลายตัว และส่งเข้าประกวดทุกครั้งที่มีการประกวด ไก่ชนนเรศวรที่สวยงามถูกต้องตามตำราไก่และมาตรฐานไก่ชนนเรศวรที่ทุกคนรู้จักคือ
ไก่ชื่อ “ไผ่สีทอง” คุณสมคิด
ได้มอบให้ข้าพเจ้านำไปทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่พระราชวังไกลกังวลหัวหินเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๖ คุณสมคิด ประสบความสำเร็จในการส่งไก่ชื่อ ดาวทอง
เข้าประกวดในงานสงกรานต์ ปี พ.ศ.๒๕๔๖ ชนะเลิศได้รับถ้วยพระราชทานพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี และเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๔
มีการประกวดไก่ชนนเรศวรที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
ในงานเทิดพระเกียรติพระนเรศวรมหาราช ทุกคนในงานต้องตกตลึงด้วยความงามของไก่ชื่อ
สมรักษ์ ของคุณสมคิด คุ้มฉาย ชนะเลิศที่ ๑
ประเภทไก่ใหญ่ มีสร้อยระย้าสีทองงามมาก ปาก แข้ง ตา สีขาวอมเหลือง
มีพระเจ้าห้าพระองค์ น้ำหนักตัว ๓.๔ กิโลกรัม เป็นไก่หนุ่มคุณสมคิด คุ้มฉาย
ได้บรรจงผสมพันธุ์อย่างมุ่งมั่นอดทน จนประสพความสำเร็จ
ปัจจุบันชมรมอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวรตำบลหัวรอ
ดำเนินการบริหารโดยกลุ่มคนหนุ่ม มีนายสุภกิต
พันธะเสน (ต้น) เป็นประธานชมรม
ต้นยังเป็นผสมพันธุ์ไก่ชนนเรศวรและไกชนเก่งสายเลือดผสม
ออกสู่ตลาดอย่างมากมายใช้ชื่อ “ฟาร์มราชันย์”
ไก่ชนนเรศวรที่สวยงามใช้เป็นพ่อพันธุ์มีอยู่หลายตัว
ไก่ชื่อยูงทองได้รับถ้วยรางวัลหลายใบ ไก่ชื่อสร้อยสังวาล
เป็นไก่ที่สวยงามเมื่อขายออกไปแล้วนำเข้าประกวดได้รับถ้วยรางวัลพระเทพฯ ปี
พ.ศ.๒๕๕๕ คุณประกิจ พันธะเสน เป็นผู้บุกเบิกการค้าขายไก่ทางอินเตอร์เน็ต
ใช้ชื่อว่า “ไร่ราชันย์ดอดคอม” จึงประสบความสำเร็จในการช่วยสมาชิกจำหน่ายไก่ด้วย
ซึ่งในฟาร์มราชันย์มีไก่ชนนเรศวรเพื่อจำหน่ายประมาณ ๑๐๐ ตัว
และไก่ชนเก่งสายเลือดผสมอีกประมาณ ๘๐ ตัว
ทางชมรมอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวรตำบลหัวรอ มีสมาชิกอยู่ ๑๒๙ ราย
โดยมีสนามบ๊อกซิ่งอยู่บริเวณหน้าที่ทำการ อบต.หัวรอ เป็นแหล่งนัดพบของชมรมทุก ๆ วันอาทิตย์ สมาชิกชมรมที่อยู่ในขั้นแนวหน้า
ที่สร้างชื่อเสียงให้ชมรมหัวรอก็คือ ซุ้มสันติภาพของคุณราเมศ มนต์ธรรม มีไก่ชนนเรศวรอยู่ในซุ้มจำนวนมาก เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจทั่วไป
มีพ่อไก่นเรศวรที่สร้างชื่อเสียงโด่งดัง คือ
ไก่ชื่อ ทองแสงกุม ได้รับถ้วยพระราชทานพระเทพฯ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๕๔
อีกซุ้มหนึ่งที่กำลังเจริญรุดหน้าสร้างชื่อเสียงให้แก่ชมรมเช่นกันคือ “ซุ้มเทพพิทักษ์”
มีพ่อไก่ชนนเรศวรที่รับถ้วยรางวัลหลายใบ มีไก่สวยงามพร้อมที่จะจำหน่ายให้แก่นักเลี้ยงไก่ชนนเรศวรทุกท่าน
ฟาร์มไก่ชนเก่งที่เซียนไก่ชนทั่วประเทศรู้จักและมีไก่ชนทุกรูปแบบไว้ต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยียนเมื่อซื้อไก่ชนนเรศวรแล้ว
อยากได้ไก่ตีต้องไปที่ “ซุ้มขุนเดช คาราบาว”
ยินดีต้อนรับเพื่อนไก่ชนเก่งทุกท่าน แม้แต่ คุณแอ๊ด คาราบาว มีโอกาสผ่านเมืองพิษณุโลก
ต้องไปดูไก่ตีที่ซุ้มขุนเดชเป็นประจำ จึงได้สมญาจากชมรมไก่ชนนเรศวรตำบลหัวรอ ว่า “ขุนเดช
คาราบาว”
บุคคลที่ทรงคุณค่าของวงการไก่ชนนเรศวรที่เซียนไก่ชนทั่วประเทศ
ต้องให้การยอมรับคือ อาจารย์ประดิษฐ์
เชื้อสิงห์ ทุกคนในตำบลหัวรอย่อมรู้จักดี
เป็นผู้ที่รักการเลี้ยงไก่ชน การชนไก่มาตั้งแต่เด็ก
เคยเดินสายชนไก่ไปทั่วประเทศนิตยสารเซียนไก่ชนฉบับที่ ๔๒ ปักษ์หลังตุลาคม ๒๕๔๔
ให้เกียรติอาจารย์ประดิษฐ์ เชื้อสิงห์ เป็นผู้สืบสานตำนานยอดมือน้ำ “ของแท้แห่งยุค
๒๐๐๒ ท่านให้ข้อคิด “จงเล่นไก่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม การชนไก่เป็นเกมกีฬา
และเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราญ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในอนาคตข้างหน้า
ศาสตร์และศิลปของการเป็นมือน้ำลูกหลานของเราต้องอนุรักษ์สืบทอดกันต่อ ๆ ไป” อาจารย์ประดิษฐ์ เชื้อสิงห์ ยังได้ร่วมมือกับกำนันเฉลิม อู่ทองมาก
ก่อตั้งชนรมไก่ชนนเรศวรร่วมกับข้าพเจ้า และเป็นผู้จัดหาไก่ชนนเรศวรชุดแรกพ่อพันธุ์
๒๕ ตัว แม่พันธุ์ ๗๕ ตัว มาให้สมาชิกของชมรมเลี้ยงแล้วปรับปรุงพันธุ์ คุณประดิษฐ์ เชื้อสิงห์
มีคุณูประการต่อวงการไก่ชนและไก่ชนนเรศวรเป็นอันมาก คุณประดิษฐ์ ได้ฝากผลงานจนเป็นที่ประจักษ์แก่พวกเรา
คุณประดิษฐ์
ยังนำทีมงานและจัดหาไก่ชนนเรศวรและไก่ชนพม่าร่วมแสดงละครประวัติศาสตร์
ตอนพระนเรศวรเป็นไก่ในงานเทิดพระเกียรติพระนเรศวรมหาราชทุกปีที่มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
จัดแสดงแต่แล้วคุณประดิษฐ์ เชื้อสิงห์ ต้องจากพวกเราไป
เมื่อสร้างไก่ชนนเรศวรของตำบลหัวรอ ให้โด่งดังเป็นที่ยอมรับของคนทั่วประเทศไทย
ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวรตำบลหัวรอ
จึงเป็นชมรมแรกที่ช่วยกันอนุรักษ์ไก่ชนนเรศวรให้อยู่คงคู่กับประเทศไทยและยังได้พัฒนาไก่ชนนเรศวรให้มีรูปร่างตามตำราไก่ชนเก่ง
และมีรูปร่างสวยงามอย่างในปัจจุบัน
พร้อมทั้งยังเผยแพร่พันธุ์ไก่ชนนเรศวรไปทั่วประเทศ
จึงทำให้ปริมาณไก่ชนนเรศวรเพิ่มขึ้น
และมีผู้ชนใจเลี้ยงไก่ชนประวัติศาสตร์อย่างแพร่หลาย ไก่ชนนเรศวรจึงเป็นไก่ของคนชาติไทยที่พวกเราต้องหวงแหน
และช่วยกันอนุรักษ์ให้อยู่ยั่งยืนคู่ประเทศไทยต่อไป
**********************************
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น