หูของคนและสัตว์
มีหน้าที่รับฟังเสียงแยกแยะเสียง
และหูชั้นในยังมีหน้าที่ปรับระดับความสมดุลของร่างกาย
ให้ร่างกายทรงตัวอยู่ได้อย่างปกติ หรือเคลื่อนไหว เดินได้ตามปกติ
ไก่หรือสัตว์พวกนก จะไม่มีใบหู เหมือนสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น วัว ควาย สุนัข สุกร
ฯลฯ แต่มีสัตว์ชนิดหนึ่งที่พวกเราเรียกว่า นกมีหู หนูมีปีก ก็คือ ค้างคาว
หูไก่ปกติจะมีขนปิดรูหูแน่น และมีขนอ่อนอยู่ในรูหูด้วย รูหูของไก่จะมี 2 รู
อยู่ตรงใบหน้าทั้ง 2 ข้าง และเยื้อง ๆ ไปทางท้ายทอย ภูมิปัญญาไทยเรื่องไก่ชน บอกว่า “ไก่หงอนรู หูกลวง” เป็นไก่ที่ไม่มีน้ำอดน้ำทน
ชนแล้วแพ้ง่าย ๆ หูกลวงคือ หูที่ไม่มีขนปิดรูหู และไม่มีขี้หู มองเห็นรูหูโล่ง ๆ
เรียกว่าหูกลวง และอีกเรื่องหนึ่งคือ
ไก่ถูกแทงเข้ารูหูจะทำให้ไก่ชักถึงตายได้
ดังการชนไก่ครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างไก่เขียวพาลีของหลวงพิชัยอาสา
กับไก่โทนเฒ่าของหลวงเมืองตากขึ้นอันสอง ทั้งสองปล่อยไก่ประทะกัน 2-3 นาที
ไก่พาลีก็โชยหัวออกเชิงม้าล่อ ไก่โทนเฒ่าโดดเข้าจิกจะตีแต่จิกผิด
ไก่พาลีหันมาเตะอัดสวนทันที และแทงไก่โทนเฒ่าที่รูหูอย่างจังเกือบมิดเดือย
ไก่โทนเฒ่าเสียสมดุลหมุนเป็นกระแตเวียน ไก่พาลีกระโดดเข้าตีแข้งเปล่าถูกท้ายเสนียด
ไก่โทนเฒ่าลงนอนดิ้นผับ ๆ และถูกตีซ้ำที่คอเชือดชักดิ้นประเดี๋ยวก็ตาย
รูหูของไก่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตไก่
นักผสมพันธุ์ไก่ย่อมรู้ดีว่าการผสมพันธุ์ให้ลงเหล่ากอดั้งเดิมของไก่ต้องดูที่ขนหู
ถ้าขนหูมีสีเหมือนตัวไก่แสดงว่าผสมพันธุ์ได้ลงเหล่าแล้ว ยกตัวอย่างเช่นไก่เหลืองหางขาว
จะมีขนสร้อยเป็นสีเหลือง ขนหางสีขาว และขนตัวเป็นสีดำ ดังนั้น ขนหูต้องมี 3
สีเช่นกัน คือ เหลือง ขาว และดำ จึงเรียกว่าไก่เหลืองหางขาวพันธุ์แท้
รูหูของไก่ชนโดยมากขนหูที่ปิดรูหูจะเหลืออยู่น้อยหรือบางตา
เพราะว่าไก่ชนสู้ศึกมามาก ขนหูถูกจิกหลุดไปมาก เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น
การให้น้ำไก่หรือเช็ดน้ำหน้าไก่ต้องระวังอย่าให้น้ำเข้าหูได้
ถ้าน้ำเข้าหูไก่จะสะบัดหัวเพื่อให้น้ำออก
ถ้าไก่เอียงหัวไปข้างหนึ่งแสดงว่ายังมีน้ำค้างคาอยู่
ถ้าไก่ชนที่ขนปิดหูหลุดหมดร่างกายไก่ก็จะสร้างขี้หูขึ้นมา เพื่อป้องกันแทนขนไก่ ขี้หูที่ออกมาจะป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าหู
เช่น ฝุ่นละออง ตัวหมัดตัวเหาหรือตัวไร
ขี้หูเสมือนหนึ่งเป็นภูมิคุ้มกันเชื้อโรคที่จะเข้ามาทางหูได้ด้วย
การมีขี้หูมาก มีขี้หูเกรอะกัง แสดงว่าไก่จะขาดอาหาร
และนำไปสู่ไก่เป็นโรคได้ ต้องตรวจมีสิ่งแปลกปลอมอะไรมาทำให้เกิดระคายเคืองที่หูได้
หรืออาจจะมีตัวหมัด เหา หรือตัวไรมารบกวนก็ได้ โดยเฉพาะหมัดหน้าไก่
ถ้าขี้หูมีกลิ่นผิดปกติไก่อาจจะมีเชื้อเข้าทางหู อาจจะเป็นหูน้ำหนวกได้ แต่ยังไม่เคยพบไก่เป็นหูน้ำหนวกเลย
ถ้าไก่มีขี้หูมากผิดปกติควรแคะออก หรือตัดออกมาบ้าง
ยังคงให้เหลือขี้หูบ้างตามธรรมชาติ
การใส่ยารักษาหูควรใช้เพียงไม้ปั่นหูจุ่มยามาแตะที่ขอบหูก็พอ
ไม่ควรหยดหยอดยาเข้าหู โดยทั่วไปจะใช้ยารักษาหูน้ำหนวกของคนมาใช้กับไก่
อาการไก่สั่นหัวหรือสะบัดหัว แสดงว่ามีสิ่งมารบกวนที่หู
หรือหูอักเสบ ต้องดูสิ่งที่รบกวนบริเวณหูแล้วเอาออก เช่น ขี้ผงติดหู ตัวหมัด
ตัวเหา หรือตัวไร หรือสิ่งอื่น ๆ
ไก่เอาเท้าเกาใบหน้า หรือเอาหน้าเช็ดที่หัวปีก แสดงว่าไก่มีความไม่สบายที่บริเวณใบหน้า
หรือบริเวณรูหู หรือบริเวณตา อาจมีสิ่งมารบกวนที่บริเวณหู หรือบริเวณตา
อาจจะมีพยาธิตาหรือไก่อาจเป็นหวัดได้
ไก่ได้ยินเสียงดัง ๆ หรือดังมาก ๆ หรือเสียงทำให้ไก่ตกใจ
ไก่จะอยู่อย่างสงบนิ่งแต่จะชูยืดคอสูงขึ้นไป
หันหน้าข้างหนึ่งไปทางเสียงเพื่อให้ลูกตามองหาที่มาของเสียง และใช้หูฟังเสียงด้วย
ซึ่งเสมือนหนึ่งใช้ใบหน้าป้องเสียงแทนใบหู จึงเป็นวิธีวิเคราะห์ที่มาของเสียง
หูไก่นับว่ามีความสำคัญต่อผู้เลี้ยงไก่ชน
การผสมพันธุ์ให้ได้ไก่พันธุ์แท้หรือการผสมพันธุ์ให้ลงเหล่านั้น
สีของขนหูต้องตรงกับสีของตัวไก่ การคัดเลือกไก่ชนต้องไม่เลือกไก่ หงอนชู หูกลวง
จะเป็นไก่ไม่มีน้ำอดน้ำทน หากพบว่าไก่มีขี้หูมาก แสดงว่าไก่นั้นไม่สมบูรณ์
ต้องดูสิ่งรบกวนที่บริเวณหู และการให้น้ำไก่หรือเช็ดหน้าไก่ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู
และต้องสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไก่สะบัดหัว เอาหน้ามาเช็ดที่หัวปีก
หรือเอาเท้ามาเขี่ยบริเวณหน้า ต้องหาสาเหตุและกำจัดออกไป
โดยเฉพาะต้องกำจัดหมัดหน้าไก่หรือตัวเหาไร ตามตัวไก่ เล้า
โรงเรือนเลี้ยงไก่ออกให้หมด
ก็จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงอยู่สุขสบายปราศจากสิ่งรบกวนไก่ที่เลี้ยงจะสมบูรณ์
สำหรับรูหูไก่ชนนเรศวรทั้งสองข้างจะมีหย่อมขนเล็ก
ๆ ปิดรูหูสนิท ขนที่ปิดรูหูนี้จะมี 3 สี คือ สีขาว สีเหลือง และสีดำ ซึ่งสีของขนหู
จะต้องเหมือนกับสิ่งของขนตัวไก่ จึงเรียกว่าเป็นพันธุ์แท้
หรือที่ภูมิปัญญาไทยโบราญเรียกว่า “ผสมได้ลงเหล่า”
ถ้าสีของขนตัวคนละสีกับขนหนูเรียกว่า ผสมผ่าเหล่ามา
หรือเป็นการผสมสลับสายพันธุ์อื่นมา ดังนั้นขนหูจึงบอกลักษณะกำเนิดพันธุ์ของมันในรูหูไก่ต้องสะอาด
หากมีขี้หูแสดงว่าไก่สมบูรณ์
******************
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น