เลี้ยงไก่ชนไม่เคยทำวัคซีนเลย
เป็นเสียงคุยในวงเสวนากันของคนเลี้ยงไก่ชน และไก่เลี้ยงก็ไม่เคยตายสักตัวเดียว
โรคห่าก็ไม่เคยมาเยือนเลย
ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วรู้สึกเวทนามากกว่าจะดีใจกับผู้คุย เพราะว่าเป็นความโชคดีของเขาที่ไก่ไม่เป็นโรคระบาด
เคยได้ยินเรื่องนี้มามากแล้วในที่สุดเขาก็ประสบความหายนะ
เมื่อโรคระบาดไก่เข้ามาเยี่ยมเยือนเขา
ทำให้ไก่ของเขาตายมากถึงกับยกเล้าเลยที่เดียว
โรคระบาดนั้นก็คือโรคนิวคาสเซิลการที่ไม่เคยทำวัคซีนให้ไก่เลย แต่ก็ไม่เคยมีโรคระบาดเข้ามาในฟาร์ม
ก็เป็นธรรมดาของการเลี้ยงไก่อยู่ห่างไกลหมู่บ้าน อยู่กลางทุ่งกลางนา
หรือบ้านใกล้เรือนเคียงโดยรอบบ้านไม่มีใครเลี้ยงไก่เลย
มีแต่บ้านเราเลี้ยงไก่เพียงบ้านเดียว
การระบาดของโรคไก่จากหมู่บ้านอื่นก็มาไม่ถึงบ้านเรา แต่ก็อย่าลืมว่าโรคระบาดไก่ที่เกิดจากเชื้อไวรัส
เช่น โรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ โรคไข้หวัดนก
เชื้อไวรัสของโรคเหล่านี้มาทางอากาศได้ ลม สามารถนำเชื้อไวรัสมาติดต่อไก่ได้
ดังนั้น
การไม่ทำวัคซีนให้ไก่เลย เป็นการประมาทอย่างยิ่ง ไม่ควรมาเป็นตัวอย่าง
การทำวัคซีนให้ไก่ที่เราเลี้ยงเป็นการป้องกันโรคที่ดีที่สุด
สื่อนำโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสไปติดต่อในไก่ที่เลี้ยงมีหลายทาง
แม้กระทั่งคนคือผู้เลี้ยงไก่
หรือผู้คนที่มาเยี่ยมฟาร์มอาจนำเชื้อโรคมาสู่ฟาร์มเราได้ นกกระจอกบ้านที่มาหากิน
หรือแย่งอาหารไก่กิน ก็สามารถนำเชื้อโรคระบาดจากบ้านอื่นที่เป็นโรคมาสู่ฟาร์มเราได้
สื่อนำโรคระบาดของเชื้อไวรัสพอจะแสดงให้เห็นดังแผนผังนี้
1. โรคนิวคาสเซิล
2. โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ
3. โรคฝีดาษ
4. โรคอหิวาต์ไก่
1. โรคนิวคาสเซิล (Newcastle disease)
เป็นโรคระบาดไก่ที่รุนแรงที่สุด
ถ้ามีการระบาดในฟาร์มจะทำให้ไก่ตายได้หมดเล้า
โรคนิวคาสเซิลยังระบาดติดต่อในฟาร์มเลี้ยงไก่งวง
นกพิราบและนกกระทา ถ้าเชื้อไวรัสโรคนิวคาสเซิลเข้าตาคนจะทำให้เกิดตาอักเสบแดง
สาเหตุของโรคนิวคาสเซิลเกิดจากเชื้อไวรัส
นิวคาสเซิลเชื้อจะแพร่กระจายจากไก่ป่วยติดต่อไก่ตัวอื่น ทางอุจจาระ
เสมหะของไก่ป่วย อาหาร น้ำ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนเชื้อ เป็ด ห่าน
และนกบางชนิดที่ติดเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการป่วยแต่แพร่เชื้อโรคให้
อาการของไก่ป่วยที่พบส่วนใหญ่จะเบื่ออาหาร ไอ จาม หายใจลำบาก อ้าปากหายใจ หายใจมีเสียงดังอุจจาระมีสีเขียว
หัวสั่น คอบิด ขาเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ ไก่ป่วยจะตายภายใน 7 วัน
มีไก่น้อยตัวที่รอดตาย จะพิการ คอจะบิด ขาและปีกใช้งานไม่ได้ดี
จะเป็นตัวอมโรคและแพร่เชื้อสู่ไก่ตัวอื่นในฟาร์ม ควรทำลายทิ้งเสีย
การป้องกันโรคนิวคาสเซิล มีวัคซีน 2 ชนิด ชนิดหยอดจมูกใช้หลอดจมูก 1-2 หยด
เมื่ออายุ 1 อาทิตย์
แล้วหยอดซ้ำเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกไก่มีความคุ้มสูงขึ้นเมื่ออายุ 3 อาทิตย์
แล้วใช้วัคซีนชนิดแทงปีกเมื่อไก่โตอายุ 3 เดือนขึ้นไป จะมีความคุ้มได้ถึง 6 เดือน
2. โรคหลอดลมอักเสบติดต่อในไก่
(Infetious
bronchitis) เป็นโรคิดต่อของไก่ทางระบบหายใจ เป็นได้กับไก่ทุกอายุ
ลุกไก่จะแสดงอาการหายใจลำบาก อ้าปากหายใจ และมีเสียงดังครีดคราด ลูกไก่มักตายด้วยอาการหายใจไม่ออก
ถ้าหากเกิดจากเชื้อโรคสายพันธุ์ที่ทำให้ไตอักเสบจะทำให้ลูกไก่ตายได้ถึง 60 ฝูง
ในไก่ใหญ่หรือแม่ไก่จะทำให้ตายน้อยแต่เปลือกไข่บาง ไข่นิ่ม ขรุขระ ไข่ฟักออกเป็นตัวน้อย
สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายไปในอากาศ หรือกระจายไปทางอาหารและน้ำ
การป้องกันโรคที่ดีต้องใช้วัคซีนหยอจมูก ลูกไก่อายุ 2 อาทิตย์และหยอดซ้ำทุก 3
เดือน เป็นการกระตุ้นความคุ้มโรคให้สูงขึ้น
3. โรคฝีดาษ (Fowl Pox)
เป็นโรคระบาดที่พบได้มากในลูกไก่และไก่รุ่น พบมีการระบาดได้รวดเร็ว
โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มียุงชุกชุม
ยุงจะเป็นพาหนะนำเชื้อฝีดาษที่เป็นไวรัสแพร่กระจายโดยที่ยุงไปกัดดูดเลือดไก่ตัวอื่น
และปล่อยเชื้อเข้าไปทำให้เกิดเป็นตุ่มฝีดาษขึ้น บริเวณผิวหนังที่ไม่มีขนขึ้นเช่น ใบหน้า
หงอน เหนียง หนังตา ข้อขา ในไก่เล็กถ้าตุ่มหนองเกิดบริเวณหน้าตาทำให้ตาปิด
ลูกไก่กินน้ำอาหารไม่ได้ทำให้ตายได้ โรคฝีดาษถ้าเกิดในลำคอทำให้เกิดโรคคอดอกได้
ถ้าพบไก่เป็นฝีดาษให้แกะตุ่มหนองหรือสะเก็ดแผลออกแล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
แล้วให้ยาปฏิชีวนะกินเพื่อป้องกันโรคอื่นแทรกจะทำให้ไก่หายป่วยเร็วขึ้น
เมื่อไก่หายป่วยด้วยโรคฝีดาษแล้วจะมีความคุ้มโรค คือจะไม่เป็นโรคฝีดาษตลอดชีวิต
การป้องกันโรคฝีดาษต้องปลูกฝีทำวัคซีนด้วยการแทงปีกเมื่อไก่อายุตั้งแต่ 7
วันขึ้นไป
4. โรคอหิวาต์ไก่
(Foxl
cholera) โรคหิวาต์พบว่ามีการระบาดของโรคในไก่
เป็ด และห่านสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อพาสเจอร์เรลล่า มัลโตซิต้า (Pasterusella
maltiocid)เชื้อโรคจะเกิดความรุนแรงต่อเมื่อเกิดความอ่อนแอของร่างกายไก่
เช่น ไก่จะเป็นอหิวาต์เมื่อตอนเริ่มเปลี่ยนฤดู จากฤดูหนาวเป็นฤดูร้อน จากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน
และจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว ในไก่ชนมักพบว่าไก่ป่วยหน้าบวมคล้ำหลังชนกลับมาแล้ว 1-2
วัน โรคอหิวาต์ส่วนใหญ่พบว่าเป็นชนิดรุนแรงทำให้ไก่ตายอย่างรวดเร็วในเวลา 1-2 วัน
ด้วยอาการไข้สูงไม่เกินอาหาร อุจจาระเหลวสีเขียวขาวใบหน้าบวมสีดำคล้ำ หัวตก
น้ำเมือกไหลออกจากปาก กระเพาะอาหารไม่ย่อย
โรคอหิวาต์สามารถรักษาให้หายได้ถ้าได้รักษาอย่างรวดเร็วและถูกวิธี
การรักษาต้องใช้ยาซัลฟากินหรือฉีด หรือให้ยาปฏิชีวนะตัวอื่น ๆ
ก็ได้แต่การป้องกันโรคต้องใช้วัคซีนอหิวาต์ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนังก็ได้
++++++++++++++++++
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น